วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติของผม

ประวัติการศึกษา


จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4-ม.5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (สอบเทียบ ม.6)


ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ด้าน International Finance and Banking จาก Birmingham University


และ ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เอก Marketing จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ประวัติการทำงาน


ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ / ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไฟเซอร์ เวชภัณฑ์สัตว์ จำกัด


เคยดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการธุรกิจ Primary Care แผนกเวชภัณฑ์ บริษัท Abbott Laboratories Thailand Limited

ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด (Marketing Director) บริษัท Smooth-E และบริษัท Siam Health Group ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยาสีฟัน Dentiste


ผู้อำนวยการ แผนกเวชภัณฑ์โรงพยาบาล และ ร้านขายยา บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สควิบบ์ ไทย จำกัด


ผู้จัดการฝ่ายขายระดับประเทศ (National Sales Manager)


ผู้จัดการฝ่ายขาย (Sales Manager)


ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product Manager)


ที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย จำกัด



ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาธุรกิจ (Business Development Specialist) และ ผู้แทนเวชภัณฑ์ (Medical Representative) ที่บริษัท Sandoz Pharmaceuticals



เป็น วิทยากรรับเชิญ ของ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยต่างๆ ผ่านประสบการณ์ในการทำการตลาดและการขายเวชภัณฑ์ เวชสำอาง ชั้นนำต่างๆ อาทิ เช่น Smooth-E, Dentiste, Counterpain, Reductil, Losec, Nexium, Abbott Vitamin, Ganaton, Taxol, Meronem, Baraclude, Lexinor, Vidaylin, Arimidex, Symbicort, Reyataz, Klacid, Sandimunn, Lamisil, …etc.

@ ภาพรวมตลาดยา


สวัสดีครับ Smiley วันนี้ก็จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ ภาพรวมตลาดยา ครับ


หวังว่าคงมีประโยชน์กับทุกท่านครับ Smiley




@ แบ่งปันประสบการณ์ @ ภาพรวมตลาดยา




ภาพรวมของตลาดยาทั่วโลกมีตลาดที่สำคัญอยู่ 3 ตลาด คือ อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูง


ซึ่งตลาดอเมริกาถือว่าเป็นตลาดอันดับ 1 ทั่วโลก Smiley


สำหรับในส่วนของยุโรปนั้น เนื่องจากปัจจุบันเป็นเขตการค้าเสรี


exclaim ซึ่งการที่เข้าไปแถบ EU ได้ นั้นก็เท่ากับเข้าไปได้ในทุกประเทศในยุโรป


ด้านประเทศญี่ปุ่นแม้จะเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่มากนัก
แต่พบว่าเป็นประเทศที่มีอำนาจการซื้อสูงมากทีเดียว




ตลาดที่รองลงมา คือ ตลาดแถบแปซิฟิค ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในขณะที่ในเอเชีย


ตลาดที่น่าสนใจและน่าจับตามองคือ จีน และอินเดีย รวมไปถึงรัสเซีย


ให้ขณะนี้กลุ่มอาเซียนมีการคุยกันถึงเรื่องที่จะมีการทำกฎระเบียบเหมือนกับ ประเทศ EU ในการนำยาเข้ามารักษาผู้ป่วย ให้สามารถนำเข้ามาใช้ได้เร็วขึ้น เป็นการขึ้นทะเบียนครั้งเดียวสามารถที่จะใช้ได้ทุกประเทศในแถบนี้






สำหรับในประเทศไทยนั้น
ตลาดยามีมูลค่าตลาดรวม 100,000 ล้านบาท exclaim


มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี
แบ่งเป็นตลาดโรงพยาบาล 79,000 ล้านบาท หรือ 79 %
ตลาดร้านขายยาประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือ 21 %



จะเห็นได้ว่าตลาดยานั้นใหญ่ทีเดียวนะครับ นกหนาว


โดยที่ตลาดโรงพยาบาลนั้นแบ่งเป็น
ตลาดโรงพยาบาลรัฐบาล 80% ตลาดโรงพยาบาลเอกชน 20%
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดยานั้นยังคงเน้นในโรงพยาบาลรัฐเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นตลาดในกรุงเทพฯ 41% ตลาดต่างจังหวัด 59%




สำหรับบริษัทผลิตยานั้นปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ


idea 1. กลุ่มผลิตยาข้ามชาติ (MNCs = Multinational Companies )

เป็นบริษัทยาข้ามชาติจากต่างประเทศ อาทิ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น


idea 2. บริษัทยาที่ผลิตในประเทศ

ซึ่งส่วนมากจะเป็นยาสามัญทั่วไป




ที่ผ่านมาพบว่ายอดขาย 70% ของตลาดยามาจากบริษัทข้ามชาติเพราะมักจะเป็นยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ มีพื้นฐานมาจากการวิจัยพัฒนา ซึ่งการนำเข้าก็มี 2 แบบคือ การให้ license
และ การเข้ามาเปิดบริษัทตัวเองในแต่ละประเทศ
ซึ่งการเข้ามาเปิดบริษัทเองนั้นก็มีทั้งแบบที่เข้ามาบริหารการตลาดเอง
และที่ผ่านดิสทริบิวเตอร์





exclaim ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทที่เป็นดิสทริบิวเตอร์หลัก ๆ 3 แห่ง คือ

1. ดีทแฮล์ม ( Diethelm)

2. ซิวลิค ( Zuellig)

3. โอลิค ( Olic )



ที่เหลือก็เป็นรายขนาดกลางและเล็ก หรือบางรายก็กระจายสินค้าเอง


@ เส้นทางสู่ดวงดาว


การที่เราจะเติบโตในธุรกิจหรือองค์กรได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะ ทุกคนที่เข้ามาทำงานก็คิดเหมือนกับเรา ดังนั้น


ความตั้งใจจริง ขยัน และพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ Smiley


นั้นจะเป็นคำตอบว่าเราจะไปถึงดวงดาวได้หรือไม่





อย่างที่ผมเกริ่นไว้ในบทที่แล้ว ว่าจะเล่าถึงเส้นทางไปถึงดวงดาวให้กับผู้อ่านทราบ
อ้อ! ย้ำว่าไม่ได้มาโดยการโรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างแน่นอน
แต่เรียกว่าเหยียบหนามกุหลาบเลยทีเดียว ขี้แง
เพราะไม่ใช่แค่เก่งเท่านั้น แต่ต้องมีอดทนในระดับสูงพอสมควรทีเดียว


ผมต้องถือว่าตัวเองโชคดี ที่เติบโตเร็ว เพียงอายุ 25 ปี
ผมก็มีโอกาสได้ขยับตำหน่งจากผู้แทนยาไปเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ( Product Manager)



ปล. แหม! เครียดใช้ได้เลยครับ ฮ่าฮ่าฮ่า




เพราะผู้แทนยาที่อยู่ในความรับผิดชอบของผมมีถึง 15 คน และส่วนใหญ่ก็จะเป็นรุ่นพี่ และผู้ที่มากด้วยประสบการณ์ทั้งนั้น
และยังมีผู้จัดการขายที่ต้องทำงานร่วมกับผมอีกสองท่าน ท่านหนึ่งดูแลในส่วนของกรุงเทพ
ในขณะที่อีกท่านหนึ่งดูแลในส่วนของต่างจังหวัด ทำให้การบ้านของผมในวันนั้นคือ
การพยายามคิดว่าจะวางตัวยังไงดีให้สามารถอยู่ได้อย่างเหมาะสม


ที่หนักกว่านั้นคือสมัยนั้นเขาไม่รีรอให้ผมศึกษางานอะไรนานหรือมากมายนัก
แต่ให้ผมลงมือทำเลย ซึ่งหน้าที่ของ Product Manager นอกเหนือจาก การวางแผนการตลาดและการจัดกิจกรรมทางการตลาดแล้ว
ก็คือ การอบรมและให้ความรู้ทางด้านผลิตภัณฑ์ให้แก่พนักงานขายหรือหาข้อมูลผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
มาสอนผู้แทนยา


ปล. เวลานั้นผมคิดว่าแหม! ทำไมขอบข่ายงานมันแคบจัง แค่อบรมพนักงานขาย นกดื่มชา

ตอนนั้นจำได้ว่าต้องรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ยาโรคกระเพาะ ซึ่งไม่เคยขายมาก่อน
และแถมยังต้องไปอบรมพนักงานขายที่มีประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่ารู้ดีกว่าผมแน่นอน
ก็ต้องมีการพยายามหาความรู้รอบตัวแบบสุด ๆ ทั้งจากข้อมูลของ Product Manager คนก่อน
ว่ามีอะไรบ้าง มานั่งดูว่า โรคกระเพาะต้องรักษายังไง ? วินิจฉัยยังไง ? ต้องให้ยาขนาดไหน เท่าไหร่ ?
พยายามอ่านตำราเยอะมาก แปลจากอังกฤษเป็นไทย


แต่ก็ไม่ทัน ปรากฎว่างานแรกนั้นก็ล่มไม่เป็นท่า เพราะแทบจะตอบไม่ได้เลยเวลาถูกถาม ขี้แง
ทำให้ผมรู้ว่าการอบรมคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่อง่าย และแคบอย่างที่คิด
เพราะบางครั้งการเตรียมเรื่องใส่กระดาษไปเพียง 4 หน้า
แต่เวลาที่พูดจริง ๆ อาจลึกถึงหนังสือ 1 เล่มเลยทีเดียว



อ่านเรื่องของผมพอหอมปากหอมคอ เรามาต่อกันถึงโครงสร้างขององค์กรในสายงานนี้กันต่อเลยดีกว่า



หลังจากที่ความสามารถของคุณเข้าตากรรมการแล้ว จากตำแหน่งผู้แทนยาก็จะได้เลื่อนขั้นเป็นระดับผู้จัดการ
ทีนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีถึง 2 สายพานให้คุณเลือกเดิน



exclaim Product Manager ซึ่งก่อนจะเขยิบฐานะไปถึงขั้นนั้นได้ก็ต้องมีการทดลองงานในตำแหน่ง Associate Product Manager เสียก่อน


exclaim Sales Manager ซึ่งก็จะต้องทดลองงาน 6เดือนถึง 2 ปีในตำแหน่ง Sales Supervisor หรือ Associate Sales Manager ก่อนเช่นกัน
ซึ่งเป็นงานที่เน้นเรื่องของการบริหารงานขายล้วน ๆ



จากนั้นก็จะเลื่อนขึ้นไปเป็นระดับ Senior และถ้าใครมีความสามารถก็อาจที่จะก้าวขึ้นสูงไปได้อีกในตำแหน่ง
Group Product Manager หรือ Group Sales Manager จากนั้นก็เป็นตำแหน่ง
Marketing Director หรือ Sales Director หรือ Business Unit Director ตามเส้นทางที่เดินมา และสุดท้ายก็จบด้วย
ตำแหน่ง President หรือ General Manager (GM ) หรือ Managing Director
แล้วแต่บริษัทนั้น ๆ ว่าจะเรียกอะไร ผู้บริหารบางคนก็ก้าวหน้าโดยการออกไปทำงานยังประเทศอื่นๆ


นอกจากสานป่านที่ผมมองว่ายาวนานเสียเหลือเกินกว่าจะถึงดวงดาวนั้น
ผมจะเล่าถึง โครงสร้างขององค์กรของบริษัทยาส่วนใหญ่ ให้ฟังเพิ่มเติมว่า


ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ


idea แบบ Functional

ซึ่งเป็นรูปแบบที่งานขายกับงานการตลาดแยกกันชัดเจนในเรื่องของขอบข่ายงานและความรับผิดชอบ


idea แบบ Business Unit

ซึ่งเป็นแบบที่ผู้แทนยา , Product Manager และ Sale Manager จะรีพอตกับ Business Unit Director
ซึ่งจะดูแลทั้งการตลาดและงานขาย แต่ทั้งนี้จะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทครับ
เพราะบางบริษัทมองว่าการที่งานขายกับการตลาดถ้าแยกกันจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
และเต็มเม็ดเต็มหน่วย




ขณะที่บางบริษัทก็มองว่าการทำงานเบบ Business Unit จะทำให้การตัดสินใจง่ายและรวดเร็วขึ้น
เนื่องจากคนตัดสินใจหลักเป็นคนเดียวกัน คือ Business Unit Manager
ซึ่งแบบไหนจะเวิร์คนั้นผมว่าก็ต้องขึ้นอยู่กับคนด้วยว่าเป็นยังไง
ถ้าคนจะทะเลาะกันจะทำงานร่วมกันหรือแยกกันก็มีปัญหากันอยู่ดี
แต่ผมถือว่าตัวเองโชคดีเพราะผ่านการทำงานมาทั้ง 2 แบบ ทำให้ผมรู้ถึงปัญหาของแต่ละแบบเป็นอย่างดี



เช่น รูปแบบ Functional จะเป็นรูปแบบที่มีปัญหากันระหว่างฝ่ายขายกับการตลาดให้เห็นเรื่อย ๆ หยอกเย้า

เพราะบางครั้งฝ่ายขายก็จะบอกว่าฝ่ายการตลาด อยู่แต่บนหอคอยงาช้าง วางแต่ทิศทาง
ไม่เคยลงมาสัมผัสทำให้ไม่รู้ความเป็นจริงในชีวิต ขณะที่ฝ่ายการตลาดก็บอกว่าตัวเองวางแผนในระยะยาว
และมองว่าฝ่ายขายมักมองระยะสั้น ฉาบฉวย


นอกจากนี้หากยอดขายหล่นไม่เป็นท่าเมื่อไหร่จะเห็นเทศกาลสาดโคลนกันสนุกสนานไปเลย พ่นน้ำหมาก
ต่างก็พยายามที่จะโยนไปให้อีกฝ่าย เช่น


ฝ่ายการตลาดอาจบอกว่าแผนที่วางไว้ดีแล้วแต่ฝ่ายขายไม่ทำตาม
หรือฝ่ายขายอาจบอกว่าฝ่ายการตลาดไม่ค่อยให้เครื่องมือในการทำการขายอย่างเพียงพอ


ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้หลาย ๆ บริษัทไม่ประสบความสำเร็จเพราะต่างไปคนละทิศละทาง นกดื่มชา






ส่วนรูปแบบ Business Unit ก็ใช่ว่าจะดีที่สุด ก็มีปัญหาเหมือนกัน

เนื่องจากเหมือนมีบริษัทย่อย ๆ ก็จะทำให้มีปัญหากันระหว่างหน่วยธุรกิจ

เช่น การไม่ช่วยกัน ไมยุ่งกัน ทั้ง ๆ ที่มีลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ก็เป็นหน้าที่ของ GM เขาละว่าจะพยายามหลอมรวมกันได้หรือเปล่า




แต่ส่วนตัวผู้ขียนเองมองว่าไม่คิดว่าระหว่าง Functional กับ Business Unit
อันไหนดีกว่ากันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และนโยบายของแต่ละบริษัทมากกว่า


อย่างไรเสียส่วนตัวผมเองก็ยังคงมองว่าธุรกิจยา การขายกับการตลาดแยกกันไม่ออก
ไม่เหมือนธุรกิจอื่น ๆ ที่เขาจะมีการแยกกันชัดเจนไปเลยระหว่างการตลาด กับงานขาย
ทำให้การทำงานของเป็นลักษณะหน้าที่ใครหน้าที่มันชัดเจน คือ

การตลาดเน้นการทำ Pull Strategy ในขณะที่การขายเน้นการทำ Push Strategy


ถึงตรงนี้ผมอยากจะเล่าต่อถึงความมันของหน้าที่ระหว่าง งานขาย กับการตลาด
ที่บางครั้งก็กลายเป็นคลื่นใต้น้ำในองค์กรเหมือนกัน

@ สมัครงานให้ได้งาน

เนื่องด้วยเห็นมีคนถามเกี่ยวกับเรื่องสมัครงาน ก็เลยขอแทรกเรื่องที่จะเขียนต่อจากคราวที่แล้ว Smiley
โดยคราวนี้ก็เลยจะเขียน 2 เรื่อง คือ


idea สมัครงานให้ได้งาน


idea เส้นทางสู่ดวงดาว

ซึ่งจะเป็นตอนต่อกันครับ ( กว่าจะนึกชื่อออก เล่นเอาปวดหัว Smiley )
หวังว่าคงเป็นแนวทางให้กับหลายๆคน ได้นะครับ


ปล. ส่วนคนที่ถามเกี่ยวกับตลาดยา เขียนแน่ครับ รอคิวนิดนะครับ Smiley ซึ่งคิดว่าจะเขียนเกี่ยวกับ


การตลาดยา และ ภาพรวมตลาดยา นกดื่มชา





@ แบ่งบันประสบการณ์ @ สมัครงานให้ได้งาน

จากที่มีคนถามถึง ผมคงต้องขอย้อนกลับไปเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งก่อน คือ
กว่าจะเข้ามาเป็นผู้แทนยาได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การคัดสรร หรือ
ภาษาชาวบ้านก็สมัครงานนั่นแหละครับ

สมัยผมการสมัครงานยังไม่ยุ่งยาก และ ขั้นตอนมโหฬารเท่าสมัยนี้หรอกครับ
แต่ก็ถือว่าหินพอสมควร แต่สมัยนี้คนเก่งเยอะ และจบมาก็มีมาก
ดังนั้นขั้นตอนการกลั่นกรองจึงมากตามไปด้วยเพื่อให้ได้คนที่ตรงกับงานจริง ๆ


แหล่งหางานของการเป็นผู้แทนยาเดี๋ยวนี้ก็มีหลายแหล่งครับ ไม่ว่าจะเป็น

idea ทางหนังสือพิมพ์

idea อินเตอร์เน็ต ซึ่งสมัยนี้ก็มีเว็บไซด์หางานเพียบ

idea หรือสำหรับคนที่อยู่ในแวดวงยา บางทีอยู่ในแวดวงอยู่แล้วและอยากเปลี่ยนงานก็ตามโรงพยาบาลก็มี

idea หรือตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ บางที่ HR ขยันเขาก็จะเดินไปติดประกาศให้อันนี้ก็สบายหน่อย



แต่สำหรับคนที่มีรุ่นพี่รุ่นน้องยิ่งสบายเลยครับใช้โทรศัพท์นี่แหละ
กริ๊งกร้างหากันหน่อย รับรองมีงานให้ทำแน่ครับ Smiley

exclaim สิ่งสำคัญ ที่ผมอยากเน้นในขั้นแรกหลังจากที่เราคัดเลือกหรือได้องค์กรที่อยากสมัครงานมาแล้วนั้น คือ

การเขียน Resume และ Application letter นั่นเอง mail


ซึ่งเดี๋ยวนี้ผมว่าสะดวกสบายกว่าอดีตมาก เพราะ มีตัวอย่างสามารถที่จะนำมาปรับ
หรือลอกแบบมาตราฐานมาเลยก็ได้
หรือจะเข้าไปดาวน์โหลดจากเว็บไซด์ต่าง ๆ ก็ได้มีให้เลือกเยอะ


แต่ขอเตือนนะครับว่าอย่าลอกทั้งดุ้น ให้เอามาปรับให้เข้ากับลักษณะงาน


และประวัติขของแต่ละคนจริง ๆ ไม่งั้นจะหนาวตอนไปสัมภาษณ์แน่นอนครับ นกหนาว




การจะเขียนใบสมัครให้สะดุดตา และได้รับการเรียนไปสัมภาษณ์นั้น
นอกจากจะต้องเขียนให้ดูมีมาตราฐาน มีความตั้งใจแล้ว
ยังต้องพยายามใส่ทุกอย่างที่น่าสนใจในตัวเราเข้าไปให้หมด เช่นมีข้อดียังไง มีเกียรติคุณยังไงบ้าง

เพราะฝ่าย HR เขาไม่มานั่งหาเพชรในตมหรอกครับ haha
Resume และ Application letter นี่แหละที่จะทำให้เขาสนใจคุณ
และพยายามบอกตำแหน่งที่อยากจะสมัครด้วย
อย่าให้เขาเดาเอง ถ้าเขาไม่เดาให้จะแย่ครับ

จากนั้นเมื่อผ่านเข้ามาในรอบสัมภาษณ์ได้ ก็ต้องทำให้ดีที่สุด

idea อ้อ! การแต่งตัวมาสัมภาษณ์ก็ควรให้ดูเรียบร้อยแต่ไม่ควรเชยเกินไป
เพราะอาชีพเซลล์นั้นต้องเป็นอาชีพที่ต้องพบปะคนเยอะ

ส่วนเรื่องของเวลานั้น ผมขอร้องว่าควรตรงเวลามาก ๆ หรือมาก่อนได้ยิ่งดี
เพราะบางที่เขาจะอำนวยความสะดวกด้านความรู้ให้คุณด้วย
การหาเอกสารมาไว้ให้อ่านก่อน ซึ่งใครมาก่อนก็ได้ประโยชน์ไป
ใครมาช้าละก็นั่งทำใจได้เลย เพราะ ไม่มีใครมองคนมาสาย
ว่ามีความตั้งใจ หรืออยากทำงานแน่นอนครับ

ผมเคยเจอคนที่มีการเตรียมตัวที่ดีมาก
ก่อนมาสัมภาษณ์เขาจะเข้าเว็บไซด์เพื่อไปดูข้อมมูลของบริษัทที่เขาต้องมาสัมภาษณ์ก่อนว่า
มีความเป็นไปเป็นมายังไง มียาอะไรบ้าง
ซึ่งนั่นผมว่าเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียวครับ

เพราะแสดงถึงความตั้งใจที่อยากจะเข้ามาทำงาน
มากกว่าการมาทำงานเพราะกลัวว่างงาน

วิธีการสัมภาษณ์ที่ดีนั้น ผมจะห้ามไม่ให้ตื้นเต้นก็คงไม่ได้
เอาเป็นว่า ให้ควบคุมอารมณ์ตื่นเต้นหน่อยก็แล้วกัน
อาจจะนั่งทำสมาธิหรือหายใจลึก ๆ ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์ก็ได้

จากนั้นก็พยายามฟังคำถามให้จบก่อนค่อยชิงตอบ
เขาไม่มองว่าคุณตอบช้าหรอกครับ เพราะสมองจะได้กลั่นกรองคำถามและคำตอบ

นกดื่มชา


จากนั้นก็พยายามตอบให้ตรงคำถาม
และอย่าพูดเร็วหรือช้าจนเกินไป เพราะบางคนเขาไม่อดทนฟังคุณตอบนานนัก
ที่สำคัญพยายามที่จะพูดความจริงให้มากที่สุด เรียกว่าอย่าโม้มากเกินไป
เพราะถ้าเข้าไปได้แล้วและทำได้ไม่เหมือนที่โม้ละก็จะแย่

สำหรับคำถามยอดฮิตในการสัมภาษณ์ก็มีไม่มากหรอกครับ wink

เช่น อาจจะถามว่าทำไมถึงสนใจงานขาย หรือทำไมถึงอยากเป็นผู้แทนยา
บางทีก็ถามว่าคิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติอะไร ถึงมาสมัครอาชีพนี้


idea คำตอบที่ดีนั้น ก็อาจจะตอบว่า เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ชอบพบปะคน เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

หรืออย่างคำถามที่ให้วิเคราะห์ตัวเองถึงจุดแข็งจุดอ่อน question


idea ก็ให้พูดข้อดีของตัวเอง และ พยายามให้มีข้อเสียบ้างเพราะไม่มีใครมีแต่ข้อดี เหรอกครับ
แต่ข้อเสียที่บอกออกไปนั้นอย่าให้ขัดกับตำแหน่งงานที่เราสมัครเด็ดขาด
เช่น มาสมัครเป็นเซลล์ไม่ใช่บอกว่าข้อเสียคือมีความอดทนต่ำยุ่งเลยครับ
เขาคงไม่ให้คุณอยู่ฝึกความอดทนแน่นอน

คำถามว่าวางแผนอนาคตไว้อย่างไร question

idea คำตอบที่ดีก็เช่นว่า อยากเติบโตในองค์กรอะไรประมาณนี้
เพราะทุกที่เขาก็อยากได้คนที่จะเติบโตไปในตำแหน่งอื่น ๆ
ไม่ใช่เสียเวลาอบรมพอถึงเวลาไม่ทำ หรือลาออกไปที่อื่น


หลังจากผ่านการสัมภาษณ์เรียบร้อย ถึงจุดสำคัญคือ


การทำ Psychometric Test นั่นเอง


ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย และไม่ได้ใช้วัดเฉพาะในระดับผู้บริหารเท่านั้น
รวมไปถึง การวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์
ซึ่งถ้ามีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านก็จะดีที่สุด
เมื่อผ่านการทดสอบเรียบร้อยก็รอฟังผลได้เลยครับ
ผมเชื่อว่าถ้าเราพยายามที่จะทำให้ดีที่สุด ก็ไม่มีอะไรที่จะยากจนเกินไปแน่นอน

เห็นไหมครับว่าการจะสมัครเข้าทำงานที่หนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย
การเตรียมตัวและความตั้งใจจริง ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะการที่เราจะได้งานดีๆหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่เราทำเองทั้งนั้นแหละครับ

ผมเชื่อว่าเมื่อหลายคนก้าวเข้ามาทำงานสักอย่างหนึ่ง
สิ่งที่สำคัญคือการเติบโตในองค์กร หรือต่างองค์กร
แต่ก็ยังวนเวียนอยู่ในสายอาชีพเดิม
สิ่งที่น่าสนใจคือ เส้นทางของการเดินทางสู่ดวงดาว ผมจะนำเสนอต่อจากนี้

@ กว่าจะเป็นผู้แทนยา # จบ

และยาอีกตัวที่ผมต้องรับผิดชอบเวลานั้นคือยา Penglobe เป็นยารักษาโรคเจ็บคอ ติดเชื้อทางเดินหายใจ การทำงานของผมต้องบอกว่าผมมีการวัดผลงานตัวเองตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มเข้าไปทำงาน ผมเรียกว่าการทำ Baseline ซึ่งดูว่าก่อนที่ผมจะเข้าไปทำงานมียอดขายเท่าไหร่ ทำอะไรไว้บ้าง ซึ่งเมื่อผมเข้าไปทำแล้วมีอะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิมบ้าง เป็นเรื่องที่ผมคอยบอกกับน้อง ๆ ของผมเสมอเช่นกัน และพยายามตั้งเป้าให้สูงเพื่อให้เรามีความพยายามมากขึ้น Smiley


ผมอยู่ในตำแหน่ง Product Manager มาได้ 4 ปีครึ่ง ก็มีความรู้สึกว่าอยากจะทำทางด้าน Line Management หรือการบริหารคนดูบ้าง เพราะการเป็น Product manager จะเป็นงานทางด้านสนับสนุนหรือ Staff management คือ คอยวางแผนการตลาดและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เลยคิดที่อยากจะเข้าไปคุมคนดูบ้าง


(บางคนเปรียบ Product Manager เหมือนเสนาธิการทหาร ขณะที่ Sales Manager เหมือนผู้บัญชาการกองรบ)


เลยตัดสินใจขอย้ายไปเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งเป็นช่วงว่างพอดี เพราะเวลานั้นบริษัทอยู่ระหว่างการ Merger กันของบริษัท Astra และบริษัท Zeneca ซึ่งปัจจุบันก็คือบริษัท บริษัท AstraZeneca ทำให้มีคนลาออกไปพอสมควร


และแล้วงานกุมบังเหียนคนของผมก็เริ่มขึ้นในฝ่ายยารักษาโรคมะเร็ง และยารักษาโรคจิตเภท การทำงานของผมก็ยังเหมือนเดิม คือเริ่มต้นต้องทำ Baseline ก่อน และพยายามหาความแตกต่างในการทำงาน


จากนั้น 1 ปี ผมก็ได้เลื่อนขั้นเป็น National Sales Manager มีหน้าที่รับผิดชอบ Sales manager 9 คนและผู้แทน 72 คน


( ลองทำดูแล้วจะรู้ว่ามันลุ้นดีจริงๆครับ หยอกเย้า )



แม้จะดูว่าเป็นงานหนักแต่ผมก็ชอบและมีความสุขกับการทำงาน เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น


ำให้ผมรู้ว่าเรื่องของ Relationships มีความสำคัญมาก Smiley


การจะนำทีมคนให้ได้ใจทีมงานนั้น เราต้องทำให้เขารู้สึกว่าเขามีความสำคัญ ผมพยายามจำชื่อ จำประวัติลูกน้องของผมให้ได้ทุกคน เพราะยังได้ประโยชน์ในเรื่องของการใช้คนใหเหมาะกับงานด้วย


ผมทุ่มเทให้กับตำแหน่ง National Sale Manager อยู่นาน 2 ปี ก็มีคนมาชวนไปร่วมงานด้วยหลายแห่ง ขณะนั้นผมทำงานอยู่ที่ AstraZeneca เกือบ 8 ปีแล้ว ทำให้รู้สึกผูกพันมาก จำได้ว่า ถึงกับร้องไห้เมื่อต้องไปลาออกกับประธานบริษัท แต่ที่ทำให้ผมตัดสินใจไปคือที่ บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สคิวบบ์ ไทย ในตำแหน่งผู้จัดการหน่วยธุรกิจ หรือ Business unit Manager มีหน้าที่ดูแลทั้งงานขายและงานการตลาดทำให้ผมสนใจ เนื่องจากเคยแต่ดูการตลาดหรือการขายเพียงอย่างเดียว ไม่เคยดูไปพร้อมๆกัน จึงตัดสินใจมาร่วมงานกับที่นี่



สิ่งที่ต้องรับผิดชอบคือดูแลด้านยารักษาโรคมะเร็ง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นบริษัทอันดับ 1 ในเรื่องของการรักษาโรคมะเร็ง แต่เมื่อเกิดมียา Generics ที่มาจากประเทศอินเดียและออสเตรเลีย ก็เลยทำให้ยอดขายตกฮวบฮาบเลยทีเดียว



และที่ร้ายกว่านั้นเมื่อดู baseline แล้วพบว่ายอดขายตกไปจากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันถึง 35% และแถมยังมีโรงพยาบาลที่กำลังร่อแร่ใกล้หลุดอีก 2-3 โรง เลยทำให้ผมรู้ว่างานนี้เป็นงานช้างทีเดียวสำหรับผม เรียกว่าเครียดชนิดที่เข้าใจคำว่าเครียดจนคอเคล็ดเป็นยังไง


ตอนนั้นจำได้ว่าผมวิ่งดับไฟแหลกมาก หมายถึงมีปัญหาให้วิ่งแก้เยอะมาก และก็มีหลายแห่งที่เคลียร์ไม่ได้ ทำให้ผมรู้ว่าปัญหาที่ผมเจอตอนนี้ไม่ใช่แค่ยาเลียนแบบ แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับลูกค้าของบริษัททำไว้ไม่ค่อยดีในอดีตตอนขายดี ไม่มีคู่แข่ง ไม่มีการง้อลูกค้า และไม่สามารถที่จะทำให้เห็นความแตกต่างกับยาเลียนแบบที่ราคาถูกกว่ามากได้


ผมใช้เวลาในการศึกษาปัญหาอยู่ 3 เดือน จากนั้นก็วางกลยุทธ์จัดการใหม่ทุอย่างตั้งแต่ การจัดเขตการขายใหม่ การจัดกลุ่มลูกค้า การอบรพนักงาน การแยกการให้รางวัลตอบแทนตามกิจกรรม (Activities linked incentive) และคอยให้การสนับสนุนลูกน้องทุกด้าน และบอกทุกคนว่าเราจะขายเพิ่มให้ได้มากกว่าปีก่อน



ตอนนั้นผมว่าลูกน้องเขาไม่ค่อยเชื่อน้ำมนต์ผมแน่นอน Smiley



หลังจากนั้นผ่านไป 5-6 เดือนปรากฎว่ากราฟยอดขายเริ่มที่จะผงกหัวขึ้นเป็นรูปตัว U ทำให้ผลงานผมไปเข้าตาผู้หลักผู้ใหญ่ จนสามารถเลื่อนตำแหน่งได้เป็น Business Unit Director หลังจากทำงานไปได้เพียง 6 เดือน และในปี 2003 ทีมงานของผมได้รับรางวัล Asia Pacific Award ในเรื่องของ Customer Impact Strategy และ GM Award ด้วยผลงานการเติบโต 65% จากปีที่แล้ว


หลังจากนั้นประมาณปีครึ่ง ผมก็ได้มีโอกาสไปดูแลงานกลุ่มเวชภัณฑ์ร้านขายยา แทนผู้บริหารเดิมที่เสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ถือเป็นประสบการณ์ใหม่เลยก็ว่าได้ เพราะตั้งแต่ทำงานมานั้นผมยังไม่เคยมีโอกาสทำงานกลุ่ม OTC หรือกลุ่มร้านขายยาเลย ต้องขอบคุณ GM ในสมัยนั้นที่ให้โอกาส หลายๆคนในวงการบอกว่า แปลก ที่บริษัทยอมให้ผมดูแล Onco ควบ OTC เพราะ Onco เป็น Niche Market สินค้าราคาต่อหน่วยแพง ลูกค้าน้อยราย ในขณะที่ OTC เป็น Mass market สินค้าราคาต่อหน่วยถูก ลูกค้ามีจำนวนมาก ผมได้พูดในกลางที่ประชุมประจำปีว่า ผมกลับคิดว่า เราสามารถปรับเอากลยุทธ์ของ Mass มาใช้กับ Niche ในขณะที่เอากลยุทธ์ Niche มาใช้กับสินค้า Mass ผมพูดว่า ยา Onco ราคาต่อหน่วยแพง อยากจะขายเอา Volume คือทำให้มันถูกลง และจะทำให้คนไข้เข้าถึงยามากขึ้น ในขณะที่ OTC ราคา ต่อหน่วยถูก ผมจึงเกิดความคิดทำเป็น แพ็คคู่ แพ็คหก แพ็คโหล ผูกโบว์ให้สวยๆ ขายในราคามีส่วนลด เพื่อให้ราคาต่อหน่วยสูงขึ้น ซึ่งได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว



ผลิตภัณฑ์ที่ต้องรับผิดชอบเวลานั้นคือ Counterpain ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นตำนานยาเลยทีเดียว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือว่าเป็น 1 ในตลาดร้านขายยา จากนั้น 1 ปีครึ่งก็ได้รับการปรับมาเป็น ผู้อำนวยการดูแลเวชภัณฑ์โรงพยาบาลทั้งหมด (Director of Ethical Business) มีหน้าที่ดูแลเวชภัณฑ์ 4 กลุ่ม คือ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคเอดส์ และโรคตับอักเสบ



ในปีที่ 5 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ผมทำงานกับ บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สคิวบบ์ ไทย ก็ เกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย มีหลายเรื่องทำให้ผมเกิดความหดหู่มาก อย่างเช่น การที่ผู้บริหารฝรั่งที่เข้ามาใหม่ ได้มีนโยบายลดพนักงานขายจำนวนมาก ทั้งๆที่ยอดขายก็กำลังไปได้ดี อย่าง เช่น ประเทศไทยและเวียดนาม ทำใหลูกน้องของผมทั้งที่เป็นผู้แทนโรงพยาบาลและผู้แทนร้านขายยา ถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ซึ่งมาจากสมมติฐานของผู้บริหารท่านนั้นว่า จะทำให้บริษัทมีผลกำไรมากขึ้น เพราะว่าค่าใช้จ่ายลดลง



( ซึ่งผมจะเล่ารายละเอียดให้ฟังในตอนหลังๆ อย่าลืมทวงหละครับ แหะๆ Smiley )



ผมจึงได้ขอลาออกจากบริษัท และออกนอกวงการยา ไปทำวงการ consumer โดยได้มีโอกาสไปร่วมงานกับ บริษัท สมูทอี หรือ บริษัท สยามเฮลล์กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ Smooth-E และ Dentiste .ในตำแหน่ง Marketing Director





ผมสาธยาย มานานเชื่อว่าผู้อ่านคงจะอยากรู้ว่า จริง ๆ แล้ว ผู้แทนยา เป็นใคร มีหน้าที่อะไร และเป็นเซลล์เหมือนเซลล์ขายรถ ขายบัตรเครดิตหรือเปล่า ลองอ่านในบทถัดไปแล้วจะกระจ่างครับ Smiley